วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

วิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

หน่ยวการเรียนที่ 1

1.
ความหมายของคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

คอมพิวเตอร์ (Computer) อาจให้ความหมายได้หลายทัศนะ เช่น คอมพิวเตอร์ คือเครื่องประมวลผลที่จัดให้ข้อมูลดิบอยู่ใน
รูปแบบที่สื่อความหมายเหมาะกับการนำไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี มีหน่วยความจำที่สามารถจำข้อมูลได้จำนวนมาก สามารถ
คำนวณเปรียบเทียบข้อมูลที่มีความยุ่งยากซับซ้อนได้ในเวลาเพียงเศษส่วนของวินาที คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้าง
ขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณ และสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลข ตัวอักษร และรูปภาพได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป
นอกจากนี้ยังสามารถจัดการเกี่ยวกับสัญลักษณ์ (Symbol) ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตาม ขั้นตอนของโปรแกรม สามารถเปรียบ
เทียบข้อมูลทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลไว้ในตัวเครื่องสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่าง ๆ ได้




2. วัตถุประสงค์ของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
วัตถุประสงค์
เมื่อเสนอกระบวนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนนี้แล้ว ผู้ศึกษาสามารถ
1. อธิบายความหมายและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์ได้
2. ระบุชนิดและประเภทขอคอมพิวเตอร์ได้
3. อธิบายการทำงานและองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้
4. อธิบายการใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษาได้




3
. ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

แนะนำส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ส่วนประกอบทั่วไปของคอมพิวเตอร์
จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าสู่หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) เพื่อทำการประมวลต่อไป
2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ และทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างภายในคอมพิวเตอร์
3. หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล ซึ่งมีรูปแบบการแสดงผลอยู่ 2 แบบ คือ
3.1 แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้
3.2 แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้


4.
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คือ

กระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้

องค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
2.ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ
3. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน
4. ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป


5. การวัดประเมินผลคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

การประเมินบทเรียนและสภาพการนำไปใช้มีบทเรียนจำนวนไม่น้อยที่ประเมินโดยผ่านข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้จริงตามความมุ่งหมายของบทเรียนนั้นๆ ดังนั้นจึงอาจคาดเดาได้ยากว่าการ ใช้บทเรียนนั้นๆ ในสภาพจริงจะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว เพราะความสำเร็จหรือความล้มเหลวของ CAI ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ CAIบทเรียนแต่จะขึ้นอยู่กับระดับการนำไปใช้จริงด้วยดังนั้นการประเมินบทเรียนควรพิจารณาในเรื่องนี้ให้ละเอียดดังที่รากอสตา (Ragosta.1983 : 124) ได้กล่าวว่า

"ความสำเร็จของ CAI จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นจากากรใช้บทเรียนนั้น เมื่อผู้เรียนเรียนจาก CAI ผู้เรียนควรได้เกิดจากการเรียนรู้แบบรอบรู้ เป็นการเรียนด้านวิชาการโดยแท้ เป็นการสดนแบบโดยตรง (Direct Instruction)บรรยากาศในการเรียนดีเป็นการคาดได้ว่า ผู้เรียนได้รับทักษะตามที่คาดหวังและผู้เรียนมีโอกาสมีส่วนร่วม หรือลงมือปฏิบัติในการเรียนระดับสูง"

หน่วยการเรียนที่ 2

*******************
บทบาทคอมพิวเตอร์ที่มีต่อการศึกษา มีรายระเอียดทั้ง 9 หัวข้อดังนี้คือ
***1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เชื่อว่า มนุษย์และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอกโครงสร้างบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรง (Linear) โดยผู้เรียนทุกคนจะได้รับการเสนอเนื้อหาในลำดับที่เหมือนกันและตายตัว
***2. ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism) พฤติกรรมมนุษย์เป็นเรื่องของจิตใจ ทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบในลักษณะสาขา (Branching) ของคราวเดอร์ (Crowder)
***3. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้Schema Thory) โครงสร้างภายในของมนุษย์จะมีลักษณะเป็นเหมือนโหนดหรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ มนุษย์จะนำความรู้ใหม่ ๆ ไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรู้เดิม (Pre-existing Knowledge)
***4. ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory) เพื่อตอบสนองโครงสร้างขององค์กรความรู้ที่แตกต่างกัน
************************
หน่วยการเรียนที่ 3
*-* ส่วนใหญ่มีความเข้าใจกันว่า การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการศึกษา หมายถึง คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนเท่านั้น ซึ่งความคิดนี้ไม่ถูกต้อง การที่คนทั้งหลายคิดเช่นนี้ อาจเป็นเพราะสาเหตุสำคัญ 2 ประการ
การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนอาจมีหลายวิธี ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับรูปแบบและประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนมีอยู่หลายรูปแบบที่สำคัญ ได้แก่
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน คือ
-**- 1) สามารถเลียนแบบการสอนได้
-**- 2) มีสมรรถภาพในการรวบรวมสารสนเทศและข้อมูลต่างๆ ทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของปฏิสัมพันธ์การสอนได้คุณลักษณะทั้ง 2 ประการนี้
อาจเป็นสิ่งจำเป็นถ้าเราสามารถพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนให้เป็นเทคโนโลยีได้ แต่ความบกพร่องของคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนในปัจจุบัน คือ โปรแกรมที่นักพัฒนาโปรแกรมผลิตออกสู่ท้องตลาด ซึ่งโปรแกรมทั้งหลายนั้นยังไม่ได้ผ่านการทดสอบหรือทดลองจริงในห้องเรียนมาก่อน จากความสามารถของคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอนสามารถปรับปรุงได้
***********************
หน่วยการเรียนที่ 4
.....หน้าที่สำคัญของเวิร์ดโปรเซสเซอร์มี 2 ประการ คือ แก้ไขเอกสาร (Editing)และจัดรูปแบบเอกสาร(Formatting)ในการแก้ไขเอกสารนั้นผู้ใช้สามารถพิมพ์ เพิ่ม ลบ ตัดต่อและดัดแปลงแก้ไขเอกสารได้ ส่วนจัดรูปแบบเอกสารนั้นผู้ใช้ก็สามารถเปลี่ยนแปลงย่อหน้า เพิ่มหรือลดความกว้างของคอลัมน์ (Column) เพิ่มหรือลดระยะห่างระหว่างข้อความและอื่น ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้ใช้เปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือต่อเติม จะปรากฏให้เห็นบนจอภาพลงบนแผ่นกระดาษโดยเครื่องพิมพ์ (Printer) ซึ่งเครื่องพิมพ์จะพิมพ์เอกสารที่เตรียมไว้ได้โดยถูกต้องและตรงตามที่ต้องการ นอกจากนั้นเครื่องพิมพ์โดยทั่วไปยังสามารถพิมพ์ตัวอักษรพิเศษได้ เช่น ตัวขยาย ตัวหนา ตัวเอน ตัวบีบ หรือการขีดเส้นใต้ ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถเน้นข้อความที่ต้องการในเอกสารได้เป็นอย่างดี ส่วนความเร็วในการพิมพ์นั้น จะขึ้นอยู่กับขนาดและรุ่นของเครื่องพิมพ์
จากการสังเกตพัฒนาการทางเครื่องมือแล
ะเทคโนโลยีที่มีอยู่ในชั้นเรียน จะพบว่ามีส่วนที่พัฒนาไปตามเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ใช้ในวงการธุรกิจ หรืออาจเป็นเพราะระบบธุรกิจมีส่วนผลักดันให้เป็นเช่นนั้นก็ได้ ในขณะที่ปัจจุบันการสื่อสารด้วยเอกสารในวงการธุรกิจเริ่มเปลี่ยนรูปแบบไปเป็นสิ่งที่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
***********************
หน่วยการเรียนที่ 5
สาระสำคัญของการรู้คอมพิวเตอร์ที่ผู้ศึกษา ความรู้ 4 ประการ คือ
1. ควรมีความรู้ความเข้าใจ เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์
2. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและการประยุกต์ก็ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์
3. ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดทั่วไปของคอมพิวเตอร์ว่าเป็นระบบ อย่างหนึ่ง
4. ควรมีเจตคติทางบวก และปราศจากอคติต่อคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร
การสอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนในต่างประเทศ
การสอนคอมพิวเตอร์แก่ผู้เรียนก่อนที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา การสอนคอมพิวเตอร์อาจเริ่มจากระดับง่ายๆ ตั้งแต่การรู้จักใช้แป้นพิมพ์ (Keyboards) ไปจนถึงระดับการเขียนโปรแกรมขั้นสูงหัวข้อการเรียนในรายวิชาการรู้คอมพิวเตอร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนนั้น จะประกอบไปด้วย
**************************
หน่วยการเรียนที่ 6
กระบวนการประเมิน

ในการประเมินบทเรียน มีขั้นตอนในการพิจารณาอยู่ 3 ขั้น คือ
การประเมินบทเรียนและสภาพการนำไปใช้
มีบทเรียนจำนวนไม่น้อยที่ประเมินโดยผ่านข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการใช้จริงตามความมุ่งหมายของบทเรียนนั้นๆ ดังนั้นจึงอาจคาดเดาได้ยากว่าการ ใช้บทเรียนนั้นๆ ในสภาพจริงจะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว เพราะความสำเร็จหรือความล้มเหลวของ CAI ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ CAIบทเรียนแต่จะขึ้นอยู่กับระดับการนำไปใช้จริงด้วยดังนั้นการประเมินบทเรียนควรพิจารณาในเรื่องนี้ให้ละเอียดดังที่รากอสตา (Ragosta.1983 : 124) ได้กล่าวว่า
***"ความสำเร็จของ CAI จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นจากากรใช้บทเรียนนั้น เมื่อผู้เรียนเรียนจาก CAIผู้เรียนควรได้เกิดจากการเรียนรู้แบบรอบรู้ เป็นการเรียนด้านวิชาการโดยแท้ เป็นการสดนแบบโดยตรง(Direct Instruction)บรรยากาศในการเรียนดี เป็นการคาดได้ว่า ผู้เรียนได้รับทักษะตามที่คาดหวังและผู้เรียนมีโอกาสมีส่วนร่วม หรือลงมือปฏิบัติในการเรียนระดับสูง" ***
.